เมนู

ลำดับนั้น พระองค์จงทรงมีพระดำริดังนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้
เราขับไล่เพราะอาหารเป็นเหตุ ธรรมเทศนาเรื่องคำข้าวที่ทำเป็นก้อน
เท่านั้นเป็นสัปปายะแก่ภิกษุเหล่านั้น เราแสดงธรรมเทศนาแล้วจัก
แสดงเทศนามีปริวัฏ 3 (3 รอบ) ในตอนท้ายเวลาจบเทศนา ภิกษุ
ทั้งหมดก็จักบรรลุอรหัตตผล.
ครันแล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมเทศนานั้นแก่ภิกษุเหล่านั้น
จึงตรัสคำว่า อนฺตมิทํ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺตํ ได้แก่ ต่ำช้า คือ เลวทราม.
บทว่า ยทิทํ ปิณโฑลฺยํ ความว่า ความเป็นอยู่ของบุคคล
ผู้เลี้ยงชีวิตด้วยการแสวงหาก้อนข้าวนั้นใด.

ความหมายของคำว่า ปิณโฑลยะ


ก็ในบทว่า ปิณฺโฑลฺยํ นี้มีความหมายเฉพาะบท ดังนี้ :- ภิกษุ
ชื่อว่า ปิณโฑละ เพราะหมายความว่า เที่ยวแสวงหาก้อนข้าว การ
ทำงานของภิกษุผู้เที่ยวแสวงหาก้อนข้าว ชื่อว่า ปิณโฑลยะ อธิบายว่า
ความเป็นอยู่ที่ให้สำเร็จด้วยการแสวงหาก้อนข้าว.
บทว่า อภิสาโป แปลว่า การด่า อธิบายว่า ผู้คนทั้งหลาย
โกรธแล้วย่อมด่าว่า ท่านห่มจีวรที่ไม่เข้ากับตัวแล้วถือกระเบื้องเที่ยว
แสวงหาก้อนข้าว. ก็หรือว่า ย่อมด่าแม้อย่างนี้ทีเดียวว่า ท่านไม่มีอะไร
จะทำหรือ? ท่านขนาดมีกำลังวังชาสมบูรณ์ด้วยวิริยะเห็นปานนี้ ยัง
ละทิ้งหิริโอตตัปปะถือบารตเที่ยวแสวงหาคำข้าวไม่ต่างอะไรกับคนกำพร้า
บทว่า ตญฺจ โข เอตํ ความว่า การเที่ยวแสวงหาก้อนข้าว
ทั้ง ๆ ที่ถูกแช่งด่านั้น.